top of page
puisuthini

กระบวนการคาดการณ์เทรนด์เป็นอย่างไร

กระบวนการคาดการณ์เทรนด์เป็นอย่างไร (ความยาว3นาที)

นักวิจัยเทรนด์จะต้องศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องแต่หากจะต้องอธิบายเป็นขั้นตอนก็คงจะต้องสรุปออกมาเป็น 5 ขั้นตอนเพื่อให้เข้าใจกระบวนการอันซับซ้อนได้โดยง่ายในหน้าเดียว

the process of trendforecasting.001

Trend driver คือการหาจุดตั้งต้นของการค้นคว้า และเพื่อให้ได้การจุดประกายทางความคิด นักวิจัยเทรนด์จะต้องมองหา จุดเปลี่ยน ว่าอะไรที่น่าจะเกิดผลกระทบต่อไปได้ จะต้องมีแรงบันดาลใจคล้ายกับการทำงานออกแบบของดีไซเนอร์ เพียงแต่แตกต่างเล็กน้อยตรงที่แรงบันดาลใจนี้ไม่ได้จำกัดไปที่เรื่องใดเรื่องเดียว ที่เราสนใจเท่านั้น สามารถเริ่มจากหลากหลายแหล่งข้อมูล เพราะทุกอย่างสามารถเป็นสัญญาณเริ่มต้นของเทรนด์ได้ การหา trend driver จึงสำคัญมากที่ต้องหาไอเดียหรือนวัตกรรมใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม   เทรนด์ก็สามารถเกิดจากไอเดียเก่าๆได้เช่นกัน แต่พัฒนาต่อเนื่องมาเป็นเทรนด์นั่นเอง เราจึงต้องสังเกตเห็น pattern of change ของเทรนด์นั้น เทคนิคง่ายๆในการเริ่มต้น self-brainstorming ช่วยให้เราจัดระเบียบความคิดได้ง่ายขึ้น เริ่มจากการจด keyword ถึงไอเดียต่างๆที่ได้รับมาให้มากที่สุด หลังจากนั้น วิธีการ mind mapping ก็จะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงได้ดีขึ้น ต่อมาให้ลองอธิบายเป็นย่อหน้าเพื่อถ่ายทอดความคิดออกมา จบด้วยการคิดชื่อเรียกเทรนด์นั้น เพื่อวางแผนการหาข้อมูลต่อไปเป็น roap map จากขั้นตอนนี้ ผลสำเร็จของ trend driver เราจะได้ จุดเริ่มต้นเทรนด์ หรือ strating point ออกมา

ขั้นตอน Trend validation เป็นการหาข้อมูลมาสนับสนุนความคิด trend starting point การเก็บข้อมูลนี้มีเพื่อเป็นหลักฐานว่าเทรนด์ที่เราคิดมีแนวโน้มในอนาคตจริง นักวิจัยเทรนด์จะใช้วิธีการเช่น primary research และ secondary research โดย วิธีการทั้งสองแบบแตกต่างกันตรงที่ primary research เป็นข้อมูล first-hand information ที่เก็บรวบรวมด้วยตัวเราเอง เช่น การถ่ายภาพ street photo การเก็บตัวอย่างวัสดุจากงาน tradefair การวาดรูปquick sketch หรือการสัมภาษณืพูดคุยกับคน ส่วนข้อมูล secondary research คือข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น เอกสาร รายงานเทรนด์ งานวิจัย หนังสือ นิตยสารแฟชั่น ในขั้นตอนนี้นักวิจัยเทรนด์จะเริ่มศึกษาให้ลึกลงไป ด้วยการ deep diving ซึ่งสามารถใช้วิธีการตั้งคำถาม ทั้งคำถามปลายปิดและปลายเปิด ในการสำรวจ โดยให้คิดเสมอว่า What Why Where When และ How ซึ่งพอถึงขั้นตอนนี้ เราจะมีข้อมูลจำนวนมากจึงต้องทำการ filtering กลั่นกรองบางอย่างออกและเก็บที่สำคัญไว้ สุดท้ายนี้คือการติดตามแนวคิดเทรนด์นี้ด้วยการ tracking the idea การติดตามไอเดียที่ว่านี้ จะทำให้ได้ข้อสนับสนุนเทรนด์เพิ่มขึ้น จากที่ต่างๆที่ตามไปสังเกต ทั้ง fashion, popular culture, lifestyle, retail, design, street style, art และ digital culture และอื่นๆอีกมากมาย จากขั้นตอนนี้ จะทำให้นักวิจัยเทรนด์ได้เห็นภาพรวมของเทรนด์ที่คิดไว้หรือ trend scenerio

ขั้นตอน Trend developing จะต้องใช้ความเข้าใจด้าน visualisation กล่าวคือทัศนศิลป์ และ สุนทรียศาสตร์ เพื่อจัดการข้อมูล แปรรูปข้อมูลและถ่ายทอดออกมาเป็น ภาพ สี วัสดุ และองค์ประกอบอื่นที่ต้องการ โดยนักปฏิบัติส่วนมากนิยมใช้สัญชาตญาณของนักออกแบบในการ ตีความ ภาพ ออกมาเป็นสี องค์ประกอบศิลป์ และองค์ประกอบในการออกแบบ อย่างไรก็ตามการตีความข้อมูลภาพ data transcribing ให้เป็นสีสามารถใช้ทฤษฎีอธิบายได้ เช่น ทฤษฎี Retina painting คือการโฟกัสที่วัสถุนั่นจนสามารถแยกรูปร่างและสีออกมา และทฤษฏี nonproportional inventory เพื่อการสรุปสี คือไม่เลือกทุกสีที่เห็นแต่เลือกเฉพาะบางสีออกมา จากนั้นทั้ง รูปภาพ สี วัสดุ การข้อมูลต่างๆ ประกอบกันเป็น concept หลักในรูปแบบ mood board ซึ่งผลลัพธ์ของขั้นตอนศึกษานี้จะได้ Live project ที่ชัดเจนทั้งแนวคิด และภาพรวมด้านทัศนศิลป โดยปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้ สามารถทำได้ทั้งแบบ digital format และ physical format

Trend meeting เป็นขั้นตอนที่จะช่วยยืนยันแนวคิดเทรนด์ว่ามีกระแสและสัญญาณที่ดีหรือไม่ โดยการประชุมเทรนด์มีหลายรูปแบบ สิ่งที่สำคัญคือ เป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน เป็นการรวมกลุ่มของคนที่มีไอเดียหลากหลายเพื่อสร้างเทรนด์ร่วมกัน เริ่มจากการนำเอาไอเดียที่แต่ละคนได้ศึกษาค้นคว้าอกกมาถ่ายทอดให้กับกลุ่มที่มีไอเดียหลายประเภทและมีพื้นฐานวัฒนธรรมต่างกันจึงเป็นการวิเคราะห์ cross-cultural analysis การเตรียมประชุมเทรนด์ จะต้องเตรียม การนำเสนอ presentation ซึ่งใช้ mood board ที่ได้ทำไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ แต่ก็สามารถมีสื่ออื่นๆร่วมด้วยได้ รูปแบบ ของการประชุมสามารถทำได้ทั้งการนำเสนอแบบseminar และการทำ workshop ร่วมกัน การแบ่งปันพูดคุยและวิเคราะห์ในการประชุมจะช่วยให้ทราบถึงมุมมองที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะถ้าประชุมระดับ international จะทำให้ทราบถึง global market มากยิ่งขึ้น การประชุมเทรนด์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญจะตกตะกอนทางความคิดช่วย refining the concept ให้น่าสนใจและเป็นไปได้จริง ผลลัพธ์ของการประชุมเทรนด์คือการสร้างทิศทางใหม่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเป็นแนวทาง global direction ที่เหล่านักวิจัยเทรนด์จะนำมาประยุกต์ใช้ในสายงานต่างๆ

Trend utilisation การใช้เทรนด์จะต้องเข้าใจก่อนถึงเอกลักษณ์ของ local market ของธุรกิจนั้นๆ แบรนด์จะต้องมีจุดยืนในอัตลักษณ์ของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน จึงจะสามารถนำข้อมูลเทรนด์มาประยุกต์ใช้ โดยต้องไม่ลืมว่าเทรนด์เป็นเพียงทิศทางของการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญของผู้ใช้เทรนด์คือจะต้องรู้จักเลือกนำมาใช้ให้เหมาะกับผู้บริโภคของตนเอง โดยสามารถมีนักวิจัยเทรนด์คอยให้คำแนะนำ เพื่อให้มุมมองที่ตอบสนองแต่ละงแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Raymond (2010) Kim, Fiore and Kim (2013) Holland and Jones (2017) Choklat (2018)

0 views0 comments

Comments


bottom of page